เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต วันนี้ เว็บหวยสด จะมาพูดถึง ประเพณีสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวภาคใต้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ว่าประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบในภาคใต้มีมาแต่เมื่อใด และเริ่มขึ้นที่ไหนก่อน ทราบเพียงว่าเป็นประเพณีที่มีมาช้านานแล้ว และยึดถือปฏิบัติกันทั่วไปในภาคใต้ วันนี้เว็บหวยสด เลยขอถือโอกาสพาสมาชิกมารู้จักกับประเพณีสำคัญของภาคใต้ของเรากันค่ะ

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

โดยเฉพาะชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการปฏิบัติประเพณีกันอย่างจริงจังมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ จนกลายเป็นงานบุญประเพณีประจำปีที่สำคัญของจังหวัดและเป็นงานที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ได้มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมายาวนาน เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับและร่วมแสดงออกถึงความรักความสามัคคี

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต นอกจากจะเป็นการทำบุญให้เปรตชนแล้วยังทำให้เกิดการรวมตัวของญาติๆ บรรดาญาติพี่น้องที่แยกย้ายกันไปทำมาหากินต่างถิ่น จะกลับมาบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อร่วมทำบุญและถือเป็นโอกาสพบกันปีละครั้ง ประกอบกับในช่วงเดือนสิบพืชพรรณธัญญาหารและผลไม้ต่างๆ กำลังให้ผลอุดมสมบูรณ์ทุกคนจะได้ร่วมกันนำไปทำบุญที่วัด ส่วนหนึ่งจะได้ร่วมกันรับประทานอาหารและเป็นการแสดงความสนุกสนานประจำปีร่วมกัน งานบุญสารทเดือนสิบจัดว่าเป็นงานบุญใหญ่ของชาวภาคใต้

โดยการทำบุญในวันสารทเดือนสิบ กำหนดทำปีละสองครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันรับตายาย หรือวันรับเปรต เชื่อกันว่าเป็นวันที่ยมบาลจะปล่อยให้เปรตมาเยี่ยมลูกหลาน และทำอีกครั้งหนึ่งในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันส่งตายาย หรือวันส่งเปรต ซึ่งเป็นวันที่เปรตชนต้องอกลับยมโลก ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง ก่อนถึงวันทำบุญชาวบ้านจะเตรียมทำขนมเดือนสิบ ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือทำบุญชิงเปรตโดยเฉพาะ เรียกว่า ขนมตายาย ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง แต่ขนมที่สำคัญและขาดไม่ได้ คือ ขนมดีซำ ขนมลา ขนมบ้า และ ขนมกง

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

ขนมดีซำ หรือ เมซำ หรือขนมเจาะหู ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาลนวดให้เข้ากันแล้วนำมาแผ่ให้มีลักษณะกลมๆ เจาะรูตรงกลาง นำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ จนสุก ฟู มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทของฝรั่ง ใช้แทนสตางค์ เพราะมีรูปเหมือนสตางค์แดง(สมัยก่อน) เปรตจะได้เอาไปใช้ในเมืองนรกแทนเงิน หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องประดับ

ขนมลา ทำด้วยแป้งข้าวเจ้ากับน้ำตาล เอาไปใส่ลงในกะลาที่เจาะรูแล้วนำไปหยอดทอดในกระทะร้อนๆ จะได้ขนมลาที่มีลักษณะเป็นเว้นๆ คล้ายร่างแห่หรือตาข่ายใช้แทนเสื้อผ้า บางท่านกล่าวว่าเป็นขนมที่ทำเป็นพิเศษเพื่อให้เปรตที่มีปากเล็กเท่ารูเข็มสามารถกินได้ 

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

ขนมบ้า ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาล แผ่เป็นแผ่นกลลมๆนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆจะได้ขนมมีลักษณะคล้ายลูกสะบ้า เพื่อให้บรรพบุรุษนำไปเล่นกีฬาสะบ้าที่เมืองนรก ขนมพอง หรือ ข้าวพอง ทำจากข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว จากนั้นนำมาอัดในพิมพ์ให้เป้นรูปกลมๆหรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือรูปอื่นๆ เสร็จแล้วถอดพิมพ์ออก เอาข้าวเหนียวมาตากแดดให้แห้งแล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ เพื่อให้เปรตใช้แทนเครื่องประดับหรือใช้แทนแพ เพื่อใช้ลอยข้ามห้วงทะเลกรรม      

ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำกะทิและไข่เล็กน้อย อีกส่วนหนึ่งใช้ถั่วเขียวคั่วจนสุก โม่จนละเอียดเอามาผสมกับน้ำตาลที่เคี่ยวจนข้น คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปั้นเป็นรูปกลมรีขนาดพองามนำไปชุบแป้งที่เตรียมไว้จนเข้ากันได้ดีแล้วทอดในน้ำมันจนสุก จะได้ขนมกงรูปคล้ายไข่ปลาใช้แทนเครื่องประดับ     

นอกจากนี้อาจจะมีขนมอย่างอื่นๆอีก เช่น ขนมเทียน ยาหนม (กะละแม) ต้มปัด เป็นต้น ชาวบ้านจะทำขนมต่างๆเหล่านี้ เพื่อใช้ในการทำบุญและนำไปแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านตลอดถึงผู้ที่เคารพนับถือ ขนมตายายอีกส่วนหนึ่งและสิ่งของต่างๆที่จะใช้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษจะถูกนำมาจัดเป็น “มรับ ห.ม.รับ หรือสำรับ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของไปวัดและเพื่อความสวยงามด้วย

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต

วันทำบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน ขนม ใส่ ห.ม. (สำรับ) และภัตตาหารไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด โดยอาหารส่วนหนึ่งจะนำมาตั้งที่ “ร้านเปรต” (หลาเปรตหรือศาลาเปรต) ซึ่งอาจจะใช้สื่อปูลงบนดิน หรือวางบนศาลา บางแห่งอาจทำเป็นแคร่สูงจากพื้นดินเล็กน้อย แต่บางแห่งอาจจะสูงถึง ๑๐-๑๕ เมตรก็มี จากร้านเปรตจะมีการโยงสายสิญจน์ต่อจากพระสงฆ์ซึ่งนั่งอยู่ในวิหารที่ทำพิธีกรรม โดยพระจะสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษที่ญาติผู้ตายได้เขียนชื่อผู้ตายมาให้ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์จะเก็บสายสิญจน์ ชาวบ้านจะแย่งชิงอาหารที่วางไว้บนร้านเปรตกันอย่างสนุกสนาน เรียกว่า ชิงเปรต การชิงเปรตนี้ถือว่าเป็นมงคลเพราะเชื่อว่าอาหารที่อยู่บนร้านเปรต คือ อาหารที่เหลือจากผีปู่ย่า ผีตายายที่กินเหลือแล้ว ลูกหลานที่ได้กินอาหารเหล่านี้เชื่อว่าจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้และถ้านำอาหารเหล่านี้ไปวางหรือว่านในนาในสวน ก็จะทำให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิตให้มายิ่งขึ้นนั้นเอง     

ทั้งนี้ การตั้งอาหารให้เปรตนอกจากจะตั้งในวัดแล้ว ยังมีการวางอาหารไว้ตามใต้ต้นไม้เพื่อเป็นเครื่องบูชารุกขเทวดาและมีการตั้งอาหารนอกวัดด้วย เพื่อให้เปรตบางจำพวกที่มีบาปหนาที่ไม่สามารถเข้ามาในวัดได้จะได้มีโอกาสรับส่วนบุญอันนี้ ซึ่งเรียกว่า ตั้งเปรตนอกวัดเพื่อให้ต่างกับเปรตในวัด เมื่อเสร็จจากการชิงเปรต ชาวบ้านบางท้องถิ่นอาจจะนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดบังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษที่เก็บไว้ในสถูป (บัว) หรือนำเอากระดูกบรรพบุรุษที่เก็บไว้ในโกศมาบังสุกุลร่วมกัน ที่เรียกว่า บังสุกุลบัว 

จบไปแล้วค่ะ กับประเพณีสำคัญของภาคใต้ นั่นคือ ประเพณีสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต ฉบับย่อๆที่ เว็บหวยสด นำมาแชร์กัน เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สามารถคลายความสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมของ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต ไปได้บ้างเลยใช่ไหมล่ะ

รับรองว่า ประเพณีวันสารทเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต นับเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว อันเป็นค่านิยมที่ดีงามยิ่งของชาวใต้และของคนไทยทั่วไป สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด ขอขอบคุณสมาชิกที่ติดตามนะคะ พบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

สมัครสมาชิกซื้อหวยออนไลน์จ่ายสูงสุดบาทละ 800 หวยสด มีหวยออนไลน์ทุกประเภทให้เลือกเล่น ไม่ว่าจะเป็น หวยรัฐบาลไทยหวยยี่กีหวยฮานอยหวยลาว, และหวยหุ้น อีก 13 ประเทศ พร้อมอัตราการจ่ายดีที่สุดในประเทศไทย มีหนึ่งบาทก็เเทงหวยได้ง่ายๆ สมัคร สมาชิก

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest