เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

ไหว้พระขอพรปี 2566! วัดสวนดอก เชียงใหม่ สักการะพระเจ้าเก้าตื้อ

วัดสวนดอก-เชียงใหม่

วัดสวนดอก เชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความสวยงาม อยู่คู่กับจังหวัดเชียงใหม่มาอย่างช้านาน และมี พระบรมสารีริกธาตุ ที่อยู่ภายใน พระเจดีย์วัดสวนดอก และ กู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่น่าไปกราบไหว้สักการะเพื่อสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวมาก ๆ เลยครับ โดยในบทความนี้ หวยสด จะมาพาทุกท่านไปรับรู้ถึงประวัติความเป็นมา รวมไปถึงจุดสำคัญ ๆ ที่อยู่ภายในวัดสวนดอกกันครับ

เปิดประวัติ วัดสวนดอก เชียงใหม่

วัดสวนดอก หรือวัดบุปผารามตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย และในปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากรไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว วัดสวนดอกนั้นสร้างขึ้นภายในเวียงสวนดอก ซึ่งเป็นเขตพระราชอุทยานตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย พระเจ้ากือนา ท่านเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังราย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อเอาไว้ให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ อยู่ในแผ่นดินล้านนา

วัดสวนดอก เชียงใหม่

และยังได้สร้างองค์พระเจดีย์เอาไว้เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ทาง “พระมหาเถระสุมน” ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ภายใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร) สำหรับวัดสวนดอก นั้นได้รับการบูรณะครั้งสำคัญถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นในปี พ.ศ. 2450 ครั้งนั้นพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการอัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ นำมาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในตอนปี พ.ศ. 2475 ครั้งนั้นเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา นั่นเองครับ แต่ว่าภายในวัดนั้นจะมีอะไรอยู่บ้างเดี๋ยวตาม เว็บหวยสด ไปดูกันในหัวข้อต่อ ๆ ไปเลยดีกว่า

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา

ภายในเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังราย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสร้าง “พระอารามหลวง” โดยท่านทรางโปรดเกล้าให้สร้าง “พระเจดีย์ทรงลังกา” ขึ้นมาเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาเถระสุมนที่ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมนั้นมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ที่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลงไป และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม ปี พ.ศ. 2478

2

พระเจ้าเก้าตื้อ

พระเจ้าเก้าตื้อ นั้นเป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ ที่สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง (“ตื้อ” เป็นคำในภาษาไทยเหนือ ซึ่งแปลว่า หนักพันชั่ง) โดยเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนสร้างโดยฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย มีหน้าตักความกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร ความสูง 4.70 เมตร เพื่อประดิษฐานเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมากไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้ ท่านทรางได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์ให้กลายเป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า “วัดเก้าตื้อ” แทน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

3

พระพุทธปฏิมาค่าคิง ซึ่งเป็นพระประธานที่อยู่ภายในพระวิหารหลวง ถูกสร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 ทำการหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ

โดยภายในวัดสวนดอกนั้นยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือกลุ่มกู่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายเหนือ นับตั้งแต่พระ เจ้ากาวิละ ที่ตั้งด้นตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นด้นมา รวมถึงเจ้านายผู้ครองนครเชียงใหม่ กู่นี้ได้นำเอาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงรวบรวมพระอัฐิจากที่ต่างๆ มาบรรจุรวมกันไว้ ณ ที่เดียวกันเพื่อให้สมพระเกียรติ โดยลักษณะกู่เป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมทรงปราสาทขนาดเล็กสร้างอยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน มีการวางผังและจัดระเบียบเอาไว้อย่างสวยงาม ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ได้มีการจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร

4

นอกจากนี้ที่วัดสวนดอก เชียงใหม่ นั้นยังมีประเพณีประจำปีซึ่งจัดขึ้นในทุก ๆ ปี ได้แก่ ประเพณีทำบุญสลากภัต จัดขึ้นตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือเดือน 11 และยังมีประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือการฟังเทศน์มหาชาติ หลังออกพรรษาของทุกปี และสุดท้ายประเพณีทำบุญสรงน้ำพระบรมธาตุ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี อีกด้วยครับ เรียกได้ว่าเป็นวัดในเชียงใหม่ที่น่าสนใจ และน่าไปกราบไหว้สักการะมาก ๆ อีกวัดหนึ่งเลยครับ สำหรับวันนี้ Huaysod คงต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ

หากท่านสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งกับเรา สามารถสมัครสมาชิกหวยสด ได้แล้ววันนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest